Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน ?

Vertex

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
19 มิถุนายน 2020
โพสต์
192

Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน
ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test (Sleeping Test) สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 แบบ ตามความละเอียดของข้อมูลที่ตรวจ โดยใช้ตามนิยามของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American academy of sleep medicine หรือ AASM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลดังนี้

ระดับที่ 1
ทดสอบการนอนหลับแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography)

การทดสอบการนอนหลับแบบนี้จะประกอบด้วย การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ลูกตา ใต้คาง และขา คลื่นไฟฟ้า หัวใจ การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดลมหายใจ เป็นอย่างน้อย โดยอาจทำภายในห้องตรวจเฉพาะของสถานพยาบาล หรือนอกสถานที่ แต่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดทั้งคืนที่ตรวจ

ระดับที่ 2
ทดสอบการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน (Comprehensive-unattended portable polysomnography)

การตรวจวิธีนี้ อาจตรวจตามบ้านในห้องนอนของผู้รับการตรวจเอง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้แต่ไม่ได้เฝ้าระหว่างเวลาที่ตรวจ ทำให้คล้ายกับการนอนในชีวิตประจำวันมากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จึงแม่นยำมากกว่า

ลักษณะของการตรวจแบบนี้มีส่วนประกอบและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ใกล้เคียงกับการตรวจระดับ แรก และมีข้อดีที่เหนือกว่า เช่น

ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องค่าห้องของโรงพยาบาล
ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง
ใช้เวลาในการรอคิวตรวจน้อยกว่า


โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจวิธีนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคลื่อนไหวและเดินทางไม่สะดวก หรือผู้ที่มีอาการมากและต้องการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องรอคิวตรวจในโรงพยาบาลนานมาก เป็นต้น

ระดับที่ 3
การทดสอบการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test)

การตรวจนี้จะมีเพียงการตรวจลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจคุณภาพการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจชนิดนี้แบบนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ ระดับ 2

อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพในการนอน รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า

ระดับที่ 4
การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable sleep test)

เป็นการตรวจการนอนกรนเพียงบางส่วน และได้ข้อมูลไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น จึงเลือกใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถตรวจในแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วได้เท่านั้น เนื่องจากข้อมูลที่ตรวจได้มักจะไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำมาใช้ยืนยันการวินิจฉัยอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

ทาง Vital Sleep Clinic มีให้บริการตรวจการนอนหลับ 2 ระดับคือ ระดับ 1 และ ระดับ 2 แต่ทั้งสองระดับ จะทำการตรวจที่บ้านเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น

Cr. https://www.vitalsleepclinic.com/sleep-test-polysomnography-apnea/
 
ด้านบน ด้านล่าง