อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ?

babala

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
16 กันยายน 2020
โพสต์
131

man21092021.jpg

อาการหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นเกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าของหัวใจเอง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ เป็นต้น ถึงแม้โรคนี้จะป้องกันได้ยาก แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจทั้ง EST และ Echo ซึ่งการตรวจทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันออกไปดังนี้

การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจแบบ EST และ Echo เพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

1.การตรวจ EST คือ วิธีการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น วิ่งบนลู่วิ่ง หรือการตรวจวิ่งสายพาน และปั่นจักรยาน วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายกำลังออกกำลังอย่างหนักนั้นหัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่ เพราะขณะออกกำลังหัวใจจะต้องการเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง หากมีเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจะส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ความดันเลือดลดลง และหัวใจเต้นผิดปกติ โดยเครื่อง EST แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ แบบสายพานไฟฟ้า (Treadmill) สามารถปรับตั้งโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลายกว่า โดยสามารถปรับได้ทั้งความเร็วและความชันของสายพานวิ่ง และที่เป็นแบบจักรยาน (Bicycle ergometer) เครื่องมือนี้จะมีราคาถูกกว่า กินเนื้อที่ในการติดตั้งน้อยกว่า และยังใช้ได้ดีในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเดินกับการทรงตัวอีกด้วย

2. ECHO คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัย โดยปล่อยคลื่นเสียงจากหัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟนผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเกิดการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ

การป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่อง ECHO มีความปลอดภัยสูงจึงไม่ต้องงดน้ำและอาหาร งดอาหารแต่ในกรณีที่มียารับประทานเท่านั้น โดยก่อนตรวจเจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนเสื้อ หากเป็นผู้หญิงต้องถอดเสื้อชั้นในออกก่อน โดยเจ้าหน้าที่จะทำการติดอุปกรณ์ เพื่อเฝ้าสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 20-40 นาที หากผู้ป่วยเป็นเบาหวานและใช้อินซูลินอยู่ ให้ใช้อินซูลินครึ่งหนึ่งของปกติและให้งดอาหารเช้า เว้นแต่แพทย์จะสั่งไม่ให้งด หากผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานยารักษาอยู่ให้งดยาในตอนเช้า ส่วนการตรวจโดยวิธีการ EST จะใช้ในกรณีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นต้นค่ะ

#หัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
ด้านบน ด้านล่าง