อาหารที่ควรเลือกทานเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นต่อมลูกหมากโต

babala

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
16 กันยายน 2020
โพสต์
131
man18082021.jpg

ภาวะต่อมลูกหมากโตเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคน หรืออายุ 40 ปี ขึ้นไปจากสถิติพบว่า ผู้ชายที่อายุ 40-60 ปี พบได้ 50% อายุมากกว่า 80 ปี พบได้ถึง 90% ภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดความรำคาญ หรือหงุดหงิดใจ จนถึงอาจเกิดความรุนแรงที่มีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน , กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ , ปัสสาวะแต่ละครั้งต้องรอนานกว่าจะออก และเมื่อออกไปแล้วต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะปัสสาวะหมด , ปัสสาวะไม่สุดเหมือนยังมีปัสสาวะค้างอยู่ , บางครั้งอาการรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น หากไม่ทำการรักษาปล่อยปละละเลยจนอาการเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากอาการไตวายได้ ดังนั้นผู้ชายวัย 40 ขึ้นไปควรดูแลตัวเองเบื้องต้นให้ดี ๆ โดยเริ่มต้นง่าย ๆ จากการกิน ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกอาหารการกินให้ห่างไกลจากโรคต่อมลูกหมากโตเอามาฝากด้วยพร้อมแล้วก็มาดูกันเลย

อาหารที่ควรเลือกทานเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นต่อมลูกหมากโต

1. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่ รวมถึงเบอร์รี่ไทย ๆ อย่าง ลูกหม่อนและลูกหว้า ล้วนเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยม ซึ่งช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของการอักเสบภายในร่างกาย รวมถึงทำให้เกิดภาวะต่อมลูกหมากโตและเนื้องอกชนิดต่าง ๆ

2. แซลมอน

ปลาที่อุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านมะเร็งและลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี มีการศึกษาพบว่าการรับประทานปลาแซลมอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อาจช่วยลดความเสี่ยงอาการต่อมลูกหมากโต

3. มะเขือเทศ

มีสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ปรุงสุก เช่น มะเขือเทศย่าง น้ำมะเขือเทศ หรือซุปมะเขือเทศ จะยิ่งช่วยให้ร่างกายได้รับไลโคปีนได้มากกว่าการรับประทานมะเขือเทศสด

4. บร็อคโคลี่และผักตระกูลกะหล่ำ

กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว และกะหล่ำปลีมีสารซัลโฟราเฟน (Sunforaphane) มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง รวมถึงช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ล้างพิษของร่างกาย การกินบร็อคโคลี่มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง สามารถลดโอกาสในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ 3 และ 4 ได้ถึง 45%

5. ถั่ว

อุดมด้วยสังกะสีและซีลีเนียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุ สำคัญต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก รวมถึงช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังพบว่าสังกะสีมีมากในหอยนางรมและอาหารทะเลอื่น ๆ

6. ชาเขียว

ชาเขียวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า แคทีชิน (Catechins) ซึ่งสามารถทำลายแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายเพื่อต่อสู้กับมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงสิ่งที่จะเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย โดยควรดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละสามแก้ว

7. เห็ด

สามารถช่วยลดอาการต่อมลูกหมากโตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเห็ดหอม ซึ่งอุดมด้วยเลนติแนน ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้ ยับยั้ง หรือป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี นอกจากนี้เห็ดอื่น ๆ เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดหลินจือ และเห็ดไมตาเกะ ยังมีสารเออร์โกไธโอนีน หรือสารแอนติออกซิแดนท์ที่มากคุณค่า ช่วยปกป้องเซลล์ทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมลูกหมากจากความผิดปกติได้ ทั้งนี้การปรุงเห็ดในน้ำมันจนสุกจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารมากขึ้น

8. ทับทิม

อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและเอลลาจิแทนนิน (Ellagitannin) ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงต่อมลูกหมาก และสามารถชะลอการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมากได้

9. เมล็ดฟักทอง

ช่วยลดอาการต่อมลูกหมากโต น้ำมันจากเมล็ดฟักทองประกอบด้วยไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน(Dihydrotestosterone) ซึ่งจัดว่าเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) เพศชายที่ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้ตามปกติ และป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ต่อมลูกหมากทำงานมากจนเกินไป น้ำมันเมล็ดฟักทองยังมีแคโรทีนอยด์และกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

10. ขมิ้นชัน

แต่เดิมขมิ้นชันถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับการอักเสบและโรคหอบหืด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบคุณสมบัติต้านมะเร็งรวมถึงความสามารถในการต่อสู้กับมะเร็งต่อมลูกหมากทั้งนี้ยังมีการค้นพบอีกว่าหากนำขมิ้นชันมาปรุงร่วมกับผักตระกูลกะหล่ำจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี

นอกจากการเลือกทานอาหารแล้วก็ยังมีอีกหลายวิธีในการรักษาและป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต อย่างเช่น การใช้ยารักษา และการผ่าตัด หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่ควรติดตามอาการเป็นระยะ ๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ไม่ว่าผู้ป่วยจะทำการรักษาหรือไม่ ก็ควรจะปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น งดการดื่มเครื่องดื่มหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน เพื่อลดการปวดปัสสาวะ ฝึกการเข้าห้องน้ำและไม่อั้นปัสสาวะเป็นต้น

#ต่อมลูกหมากโต
 
ด้านบน ด้านล่าง