ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม

babala

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
16 กันยายน 2020
โพสต์
131
A04082021.jpg
โรคความจำเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อมทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นจากเซลล์ในสมองตายหรือไม่ทำงาน ทำให้สมองส่วนที่เหลือทำงานได้ไม่เต็มที่ และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น จนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์นั้นมีดังนี้

ปัจจัยเสื่ยงที่ทำให้เป็นโรคความจำเสื่อม

1.อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน

2.พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน , มียีนบางอย่างเช่น ApoE4 เป็นต้น

3.โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน

4.การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

5.พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ด้วย ดังนี้ น้ำหนักเกินมาตรฐาน , การขาดการออกกำลังกาย , การสูบบุหรี่ , ความดันโลหิตสูง , ไขมันในเลือดสูง , โรคเบาหวาน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อมได้อยู่หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง การรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่อสมอง เป็นต้น แหละที่สำคัญต้องฝึกฝนสมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ยังช่วยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขอีกด้วย

#ความจำเสื่อม
 
ด้านบน ด้านล่าง