เตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงวัย พร้อมดูแลคนที่คุณรัก เพื่อสุขภาพที่ดีทุกว

tawannew

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
16 กรกฎาคม 2018
โพสต์
222


จากการประเมินสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด โดยจากการจัดอันดับของประเทศในเอเชีย ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ ที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว


แม้จะมีอายุที่ยืดยาวขึ้น แต่มีผู้สูงอายุเพียง 5% ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือเจ็บไข้ได้ป่วย การดูแลผู้สูงอายุ หลายคนคิดว่าปัญหาสุขภาพของท่านเกิดจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถดถอยลง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุโดยมากประสบอุบัติเหตุในบ้าน หรือที่ที่ไปทำกิจกรรมบ่อย


อุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพร่างกายเองได้แก่ แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว หรือโรคต่าง ๆ ซึ่งโรคที่พร่าชีวิตคนไทยลำดับต้น ๆ คือโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ที่คนไทยเป็นมากคือการอุดตัน/ตีบตันของเส้นเลือด ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการอุดตันของลิ่มเลือดที่หลอดเลือดบริเวณสมอง จากภาวะหัวใจสั่นพริ้ว หรือ Atrial Fibrillation ซึ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุและเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองปีละ 300,000 ราย กล่าวได้ว่า ประชากรที่อายุ 50-60 ปี อาจพบ Afib 1 คนในประชากร 200 คน หากอายุถึง 80 ปี อาจพบ Afib ถึง 1 ใน 10 ส่วน Afib ในคนอายุน้อย มักมีประวัติโรคหัวใจบางชนิดมาก่อน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวปีละ 60,000 ราย ภาวะหัวใจสั่นพริ้วนี้เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุตัน และนำไปสู่อาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้




ในต่างประเทศมีการรณรงค์การป้องกันภาวะดังกล่าว โดย Nice Guideline ประเทศอังกฤษ แนะนำให้คนอังกฤษตรวจเช็คภาวะหัวใจสั่นพริ้ว หรือ AIFB ด้วยเทคโนโลยี Afib ใน Microlife watch BP เพื่อช่วยลดโอกาสในการเป็น stroke สำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และสำหรับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.samh.co.th/microlife/blood-pressure/#afib


สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยเป็นได้ทั้งการเดินในที่ราบในบ้าน เช่นในห้องนอน ห้องน้ำ หรือในที่ลาดชัด รวมถึงการเดินขึ้นบันได เราควรจัดสถานที่เหล่านี้ให้ปลอดภัยและเตรียมพร้อมอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น บริเวณทางชันหรือบันได ควรมีราวจับ ขณะเดียวกันในตัวบ้านที่ที่ทุกคนคิดว่าปลอดภัยที่สุด ก็ต้องการการดูแลที่มากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการลื่นล้มระหว่างการเดินจากห้องนอนไปห้องน้ำตอนกลางคืน ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุการลื่นล้มลำดับต้นๆในบ้าน การดูแลดังกล่าว สามารถเลือกใช้เก้าอี้คอมโหมด หรือเก้าอี้อเนกประสงค์ที่สามารถใช้นั่งขับถ่ายได้ด้วย แต่ควรเลือกที่สะอาดถูกสุขอนามัย สามารถปิดกลิ่นและล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ


246f1cc44f13c881164a3fd5a213de97.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติม http://bit.ly/ETACcommode


การป้องกันการลื่นล้มในห้องน้ำ หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพข้อเข่าเบื้องต้น ลดการเสื่อมขอเข่าที่ต้องย่อตัวขณะนั่งบนสุขภัณฑ์ รวมไปถึงการดูแลและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน


1448ca069f23a7690beee3c9d54e2e7a.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติม http://bit.ly/ETACclean


สสช.ได้ประเมินว่า ในปี 2564 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วนสูงถึง 20% และในปี 2574 ประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 28% ทั้งในปัจจุบันสัดส่วนวัยทำงานดังกล่าวยังสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ 1 ต่อ 4 คน แต่ในปี 2574 สัดส่วนการดูแลผู้สูงอายุจะเฉลี่ยที่ 1 : 1


การมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึง เพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่าง ๆการดูแลรักษาเพื่อการป้องกัน จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้พร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่แข็งแรงและมีความสุข
 
ด้านบน ด้านล่าง