ข้อสงสัย "มัลติวิตามิน" ดีกับร่างกายจริงหรือ

สมัครเมื่อ
20 ธันวาคม 2013
โพสต์
5
ผู้คนจำนวนมากบนโลก ที่หวังพึ่งพา "วิตามิน" ที่เชื่อว่าช่วยทำให้ร่างกายไม่เจ็บไม่ป่วย และช่วยเติมเต็มสิ่งที่ร่างกายขาดหายไป หลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองขาดวิตามินอะไร ก็มักจะซื้อวิตามินรวมกินเสียเลย
13874345431387434566l.jpg

แต่ในผลการวิจัยสองชิ้นล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสารแอนนาล ออฟ อินเทอร์นอล เมดิซิน ระบุไว้ว่า ผลการทดสอบวิตามินรวมพบว่า วิตามินรวมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยป้องกันอาการสมองเสื่อมหรือช่วยป้องกันโรค หัวใจได้แต่อย่างใด โดยมีตัวเลขชี้ว่าชาวอเมริกันหลายล้านคนใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อวิตามินกิน เพราะเชื่อว่าจะช่วยทำให้สุขภาพดี และช่วยเสริมวิตามินที่ขาดของร่างกาย โดยคนส่วนใหญ่ไม่ได้กินสารอาหารเข้าไปอย่างเพียงพอ แต่กลับหันไปกินวิตามินเสริมเหล่านี้แทน ซึ่งผลการวิจัยแนะนำว่าไม่ควรจะกินวิตามินอาหารเสริมเหล่านี้แบบสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรค เพราะไม่พบว่าช่วยลดการเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บลงได้
แพทย์หญิงซินเธีย เมอร์โรว์ รองบรรณาธิการวารสารแอนนาล ออฟ อินเทอร์นอล เมดิซิน กล่าวว่า หลักฐานที่ได้มานั้นเพียงพอที่จะแนะนำให้เลิกการกินวิตามินเสริมเป็นประจำ เสียที อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่ซื้อมัลติวิตามินหรืออาหารเสริมอื่นๆ จะเป็นคนที่ห่วงใยในสุขภาพ จนทำให้แม้แต่ในอาหารขยะทั้งหลายก็มักจะหลอกล่อคนให้มาซื้อกินด้วยการบอกว่า ใส่วิตามินเข้าไป แต่จริงๆ แล้วปัญหาหลักของสารอาหารที่ผู้คนได้รับในสหรัฐอเมริกาคือ มีไขมันและแคลอรีมากเกินไป
คณะทำงานด้านการบริการการป้องกันของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับวิตามินอาหารเสริมว่ามีความเสี่ยงต่อบุคคลที่จะทำให้ เกิดโรคหัวใจหรือโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งในข้อเสนอที่มีเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางคณะทำงานได้ระบุไว้ว่า ไม่มีหลักฐานที่มากพอที่จะบอกว่ามัลติวิตามินมาตรฐานและสารอาหารอื่นๆ นั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น และอาจจะต้องมีการพิจารณากันอีกครั้งในปีหน้า
นายแพทย์โฮเวิร์ด เซสโว จากโรงพยาบาลบริกแฮมแอนด์วีเมน จากบอสตัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการวิจัยเกี่ยวกับมัลติวิตามิน บอกว่า ผลการศึกษาเกี่ยวกับมัลติวิตามินนั้นได้ผลที่ผสมผสานกันไป และชี้ให้เห็นว่าประโยชน์ของมันบางครั้งก็มีน้อยมากสำหรับในบางสภาพร่างกาย แต่ก็ไม่มีผลกับอีกสภาพร่างกายและจะต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมไปอีก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง แต่ที่แน่ๆ ก็คือ มันไม่สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงได้ดีเท่ากับการกินอาหารที่ดี และมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ดี เช่น การออกกำลังกายได้


ที่มา : นสพ.มติชน
 
ด้านบน ด้านล่าง